วันจันทร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่:ศิลปินต้นแบบในยุค 2000?

         หลังจากกระแสในยุค 60's ที่มาจากศิลปินโฟล์ค(American Folksong) และจากอีหลายๆศิลปิน เช่น The Beatles, ทั้ง John Lennon และ George Harrison หรืออย่าง Elvis Presley ต่อมาในยุค 90's กับ IZ ที่ช่วยปลุกกระแสอีกครั้ง

         ต่อถึงยุคของ "Jake Shimabukuro" ในยุค 2000 นี้ สำหรับผู้ที่ชื่นชอบดนตรีอะคูสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "
อูคูเลเล่" คงไม่มีใครไม่รู้จัก Jake Shimabukuro อย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นเด็กหนุ่มที่มีทักษะ มีความสามารถ และเป็นนักเล่น อูคูเลเล่ ที่มีฝีมือยอดเยี่ยม รวมถึงการแสดงบนเวที ที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกด้วย เขายังมีโอกาสได้ร่วมเล่นกับ Tommy Emmanuel (ศิลปินแนว finger-style มือระดับโลก) มาแล้ว, Jake ยังได้ออกผลงานอัลบั้ม อูคูเลเล่ มาแล้ว รวมเกือบ 10 อัลบั้ม แต่หากใครเป็นแฟนเพลง Jake คงรู้ว่า เขาดังมาตั้งแต่ในยุค 90' กลางๆ แล้ว คือตั้งแต่ตอนที่อยู่ฮาวาย นอกจากนั้นแล้ว ศิลปินอย่างยุคใหม่อย่าง "Jack Johnson" และ "Jason Mraz" 
ที่มา: acousticthai

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ  
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th   
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700   
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251   
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699   
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694   
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่:การเลือกซื้อ Ukulele ให้ถูกใจ?

             หากถามถึงวิธีการเลือกขนาด อูคูเลเล่ นั้น ไม่มีสูตรที่ตายตัว ก็เหมือนกับอะคูสติกกีต้าร์นั่นล่ะ คือจะต้องดูที่ความต้องการของผู้เล่นด้วยว่า ต้องการเสียงแบบใด และนำไปเล่นในสไตล์ไหน เพราะหากผู้เล่นมีความชำนาญในการเล่น อูคูเลเล่ แล้ว ไม่ว่าทรงนี้ก็สามารถเล่นได้ทั้งนั้น เช่น หากต้องการเล่นตีคอร์ด และชอบเสียงคมๆแหลมๆ มากๆ ขอแนะนำขนาด Soprano, แต่ถ้าต้องการเอาไปฝึก Finger-style และต้องการเสียงแหลมคมชัดผสมเสียงกลาง แนะนำขนาด Concert, หรือหากต้องการนำไปเล่นเน้น Finger-packing ผสมการเล่นแบบโซโล และอยากได้เสียงโทนเสียงหนาๆ หน่อยแนะนำ Tenor เป็นต้น

             นอกจากนั้นแล้วในกรณีมือใหม่ คงจะต้องคำนึงถึงขนาดของ อูคูเลเล่ ด้วย เพราะขนาดเป็นตัวกำหนดความยากง่าย การเลือกซื้อ อูคูเลเล่ ขนาด Soprano คงจะไม่ง่ายนักกับการฝึก จึงควรจะเลือกซื้อขนาด Concert ขึ้นไป ยิ่งขนาด Tenor ยิ่งดี เพราะมันสามารถฝึกได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะการวางหรือการควบคุมนิ้วมือทั้งซ้ายและขวา ก็สามารถจะทำได้ง่าย ถ้าเริ่มต้นด้วย ขนาด Soprano อาจจะท้อจนเลิกเล่นสะก่อน

              จุดสำคัญอีกอย่างในการเลือกซื้อก็คือ ความปราณีตและความเรียบร้อยของงานประกอบและวัสดุที่ใช้ทำ เช่นในส่วนของ Bridge หรือสะพานสายที่ยึดด้านท้าย
อูคูเลเล่ ในระดับราคาถูกๆ มักจะพบปัญหาว่า สะพานสายจะแตก ฉีก หรือไม่ก็ติดกาวไม่แข็งแรงทำให้ขยับได้ อีกส่วนก็คือในตำแหน่งลูกบิด (tuner) บางครั้งพบว่า ลูกบิดเกิดอาการไม่สามารถหมุนสายให้ขึ้นได้ หรือชอบคลายตัวเอง ทำให้เกิดเสียงเพี้ยนบ่อยๆ

               ดังนั้นจะเลือกซื้อ
อูคูเลเล่ สักตัว ก็จะต้องพิจารณาความปราณีตของงานและคุณภาพของวัสดุที่ใช้ประกอบด้วย ระดับราคาของ อูคูเลเล่ มีตั้งแต่หลักร้อย(แต่ไม่แนะนำ) หลักพันต้นๆ กลาง และปลาย จนกระทั้งถึงหลักหลายหมื่นบาท โดยเฉพาะ อูคูเลเล่ ที่ผลิตจากอเมริกา และฮาวาย จะมีราคาสูงมาก
ที่มา: acousticthai

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th 
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700 
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251 
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699 
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th
 

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่:อูคูเลเล่ผลิตจากที่ไหนบ้าง?

           
          โรงงานที่ผลิตและประกอบ อูคูเลเล่ มีอยู่หลายแหล่งด้วยกัน เช่น เวียดนาม อินโด จีน ญี่ปุ่น แคนนาดา อเมริกา และฮาวาย ซึ่งแน่นอนว่า อูคูเลเล่ ที่ทำหรือประกอบจากฮาวาย ย่อมมีราคาค่าตัวสูงกว่า อูคูเลเล่ ที่มาจากแหล่งอื่นๆ และองค์ประกอบของวัสดุก็เป็นตัวแปล ที่ทำให้ราคาของ อูคูเลเล่ สูงต่ำด้วย เช่นประเภทไม้, เกรดของ Abalone ที่ประดับบนตัว อูคูเลเล่ และสมัยใหม่เราจะเห็นว่ามีการติดตั้ง Pickup หรือมีชุด Preamp ให้กับ อูคูเลเล่ ด้วย แน่นอนว่า ระดับ/คุณภาพของ pickup/preamp ก็มีผลอย่างยิ่งต่อราคา 
ที่มา: acousticthai
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ     
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th     
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700 
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251 
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699 
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694   
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่:ประเภทของ Ukulele มีขนาดใดบ้าง?

          อูคูเลเล่ มีสายเพื่อใช้บรรเลงเพลงแค่เพียง 4 สาย โดยใช้สายไนล่อน รูปทรงจะเล็กกว่าอะคูสติกกีต้าร์มาก ซึ่งจะมีขนาดอยู่ 4 ขนาด คือ

1) อูคูเลเล่ ขนาด soprano (standard size) มีขนาดความยาว 21" นิ้ว
 
ถือเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับชาวฮาวายเอี้ยน แต่สำหรับคนไทยอาจจะไม่ใช่ โดยเฉพาะผู้ที่เล่นอะคูสติกกีต้าร์มาก่อน ถ้าหากเริ่มต้นหัดจากขนาด Soprano อาจจะท้อสะก่อน เพราะยิ่งขนาดเล็กเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การเล่นทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น 

2) อูคูเลเล่ ขนาด concert มีขนาดความยาว 23" นิ้ว
จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาด soprano ขนาดตัว และฟิงเกอร์บอร์ดที่มีความกว้างมากขึ้นนั้น ช่วยทำให้การเคลื่อนของมือซ้าย ทำได้ง่ายขึ้น เอกลักษณ์เสียงของขนาด Concert คือให้เสียงแหลมพอประมาณ และมีเสียงกลางผสม จึงเหมาะกับการใช้เล่น ในสไตล์ strum-chord(ตีคอร์ด) เป็นหลัก แต่สามารถใช้เล่นสไตล์ finger-picking ได้เช่นกัน 

3) อูคูเลเล่ ขนาด tenor มีขนาดความยาว 26" นิ้ว
มีขนาดใหญ่กว่า concert ผู้เล่นสามารถเล่นได้ง่าย คือทั้งการโอบหรือพยุงขึ้นแนบกับอกทำได้ง่ายขึ้น การใช้มือซ้ายและมือขวาเคลื่อนไหวได้ง่าย ขนาดของลำตัว(body) และฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่ขึ้นนั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีนิ้ว/มือที่ใหญ่ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มหัดเล่น เอกลักษณ์เสียงอยู่ที่เสียงกลางดี มีเนื้อเสียงที่ชัดเจน จึงเหมาะกับการเล่นแบบ finger-picking และ solo ได้ดี เสียงที่ออกมาจะมีความใกล้เคียงอะคูสติกกีต้าร์พอสมควร แต่ tenor ให้โทนเสียงแหลมคมและการพุ่งของเสียง จะน้อยกว่า soprano และ concert 

4) อูคูเลเล่ ขนาด baritone มีขนาดความยาว 30" นิ้ว 
เหมาะกับการเล่นโน๊ตเป็นตัวๆ หรือการเล่นแบบโซโล หรือเล่นแบบ Finger-style ให้ย่านเสียงต่ำดี แต่ย่านเสียงสูงไม่โดดเด่น จึงตอบสนองเสียงคมๆ แหลมๆ ได้ไม่ดีนัก มีเสียงใกล้เคียงกับอะคูสติกกีต้าร์มากที่สุด
ที่มา: acousticthai
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ   
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th   
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700 
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251 
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699 
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694   
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

วันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: ชนิดของไม้ที่ใช้ทำ อูคูเลเล่

            ไม้หลากหลายชนิดสามารถนำมาทำอูคูเลเล่ แต่ละชนิดนำความสวยงามที่เป็นเอกลักษณ์ โทนเสียง และความแวววาวให้กับเครื่องดนตรี หนึ่งในไม้ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือไม้โคอา ไม้ชนิดนี้มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีว่าเป็นไม้ที่ดีที่สุดในฮาวาย ไม้อะเคเชียโคอา (ชื่อเต็มของไม้) เป็นไม้พื้นเมืองที่ขึ้นในป่าของฮาวาย และเป็นที่รู้จักยอมรับกันดี

            ในภาษาฮาวาย โคอา แปลว่า แข็งแรง กล้าแกร่ง เมื่อใครพูดถึงฮาวายอูคูเลเล่ ให้คุณนึกถึงเสียงที่สุดยอด และงานฝีมือความสวยงามที่มีเพียงแต่ไม้โคอาเท่านั้นที่จะให้คุณได้

            ไม้อีกชนิดหนึ่งที่เป็นที่รู้จักดีคือ ฮาร์ดร็อก เมเปิ้ล ไม้ชนิดนี้เป็นที่รู้จักดีในเรื่องความคงทน แข็งแรง และทนทานต่อความเสียหาย ไม้ชนิดนี้ยังให้เสียงที่เป็นโทนเสียงสูง แหลม
 
            ไม้มะฮอกกานี มีความหนาแน่นในระดังปานกลาง โดยทั่วไปแล้วมักจะมีสีออกแดง และให้เสียงทุ้ม ใส ไม้นี้เหมาะที่จะใช้ร่วมกับเมเปิล และเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำตัวอูคูเลเล่ ซึ่งจะเห็นได้จากอูคูเลเล่รุ่นเก่า ๆ (มักจะทำจากไม้มะฮอกกานี) ถึงแม้ว่าไม้มะฮอกกานีจะไม่มีลวดลายสะดุดตา สำหรับผมแล้วผมชอบมันที่คุณภาพของเสียง

            โรสวู้ดนั้นมีอยู่มากมายหลากหลายสี และหลายลวดลาย ในปัจจุบันนิยมใช้ทำในส่วนของเฟรทบอร์ด ลองฟังอูคูเลเล่ที่ทำจากไม้ชนิดนี้ แล้วคุณจะพบว่าโทนเสียงนั้นหวาน กลมกล่อม (ไม่แหลมไม่ทุ้มจนเกินไป) บราซิลเลียนโรสวู้ด (เป็นพันธุ์หนึ่งของโรสวู้ด) นั้นสูญพันธุ์ไปนานมากแล้ว แต่ยังคงมีพันธ์อื่นที่ยังพอหาได้อยู่

            ในทางกลับกัน เร้ดวู้ดนั้นมีความทนทานมาก และให้เสียงอูคูเลเล่ที่เป็นเสียงเบสทุ้มลึก ไม้อิมบูเอียนั้นก็ค่อนข้างเหมือนกับเร้ดวู้ด แต่เป็นไม้ที่มีลวดลายค่อนข้างหวือหวา เป็นตัวเลือกที่เพอเฟ็กซ์สำหรับทำไม้หน้า และไม้หลังของอูคูเลเล่

            เอบโบนี่ ซึ่งถูกใช้ในส่วนที่เป็นคีย์สีดำบนเปียโน ก็นำมาใช้ในการทำเฟรทบอร์ดอูคูเลเล่ ไม้เมเปิ้ลนั้นมีความหนาแน่นที่ดีและทนทานมาก มันให้เสียงสูงแหลม เมเปิ้ลมีหลากหลายลวดลายทั้งแบบ สะปอลต์ (ลายเกิดจากแบคทีเรียบนเนื้อไม้) เคิร์ลลี่ คิลท์ และเบิร์ล

           ไม้สปรู้ด เป็นไม้ที่มีลายค่อนข้างชิดและแน่น ให้เสียงที่ค่อนข้างไดแนมิก (แปลไม่ถูกเลย สั่นไหวรวดเร็ว ประมาณนี้) สำหรับผมแล้ว ผมชอบอูคูเลเล่ราคาปานกลางที่ซาวน์บอร์ด (ไม้หน้า) ทำจากสปรู้ด และไม้ข้างและไม้หลังทำจากมะฮอกกานี

           ไม้ซีเดอร์ มีสีที่เป็นช่วงจากสีอ่อนไปจนถึงแดงเข้ม และส่วนใหญ่นำมาใช้ทำซาวน์บอร์ด อูคูเลเล่ที่เสียงดีที่สุดที่ผมมีทำจากไม้ซีเดอร์ โดยช่างท้องถิ่น ไม้นี้มาจากสวนหลังบ้านของช่างไม้ ซึ่งไม้มีอายุมากกว่า 40 ปี

           ไม้คอมโพสิท หมายถึงอูคูเลเล่ที่ทำด้วยพลาสติก และมีลายไม้มาพิมพ์ทับ โดยทั่วไปเครื่องดนตรีชิ้นเล็ก ต้องมีโครงสร้างที่บาง ซึ่งโดยทั่วไปความหนาจะอยู่ที่ 0.0625 นื้ว เมื่อใช้ความหนาเท่านี้ ไม้จะมีแนวโน้มที่จะแตกหักได้ง่าย ถ้าถูกปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง

            เพื่อแก้ปัญหานี้ โรงงานจึงออกแบบไม้คอมโพสิทใหม่ หรือในอีกชื่อหนึ่งว่า ไพลวู้ด (ไม้อัด) แต่มันแตกต่างจากไม้อัดที่คุณเห็นทั่วไป (อันนี้มีพลาสติกเป็นส่วนผสม)

           ไม้คอมโพสิทถูกออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับทำเครื่องดนตรี (ต่างจากไม้อัดที่ใช้ทำบ้าน ทำเฟอร์นิเจอร์) ด้วยวัสดุชนิดนี้ สามาถทำให้เครื่องดนตรีบางที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยที่ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับความแข็งแรงทนทาน ถึงแม้ว่าอูคูเลเล่ที่ดีที่สุดนั้นคืออูคูเลเล่ที่ทำจากไม้แท้ ก็มีคนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่ต้องการเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้คอมโพสิท ซึ่งให้คุณภาพเหมือนกับเครื่องดนตรีที่ทำจากไม้อื่นที่ราคาแพงกว่า

           เครื่องดนตรีที่ทำจากไม้คอมโพสิทเกรดดีนั้นหาได้ง่ายในปัจจุบัน ตัวอย่างเช่น ฮอเนอร์ ลานิไค ซึ่งเป็นที่รู้จักในเรื่องคุณภาพเสียงที่ดี และความคุ้มเงิน แต่ถ้าคุณมีงบ ไม้แท้ยังคงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด ที่ให้เสียงที่ดี และความสวยงาม อย่างไม่มีอะไรมาเทียบได้ ขอแค่คุณทะนุถนอมมันให้ถูกวิธีก็พอ
ที่มา: jaykulele.blog
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ 
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th 
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700 
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251 
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699 
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่: รู้หรือไม่? อูคูเลเล่แท้ๆ ไม่ได้มาจากฮาวาย

อูคูเลเล่แท้ๆ ไม่ได้มาจากฮาวาย แล้วมันมาจากไหนกันล่ะ?

        เชื่อกันว่ากีต้าร์สี่สายตัวจิ๋วนี้ ถูกนำเข้ามาครั้งแรกช่วงปลายปีคริสตศักราช 1870
โดยคนที่อพยพชาวโปรตุเกสจากเกาะ Madeira แต่ก็ข้อมูลนี้ก็ยังถูกถกเถียงในวงกว้าง
ว่าใครกันแน่ที่เป็น ผู้สร้างเครื่องดนตรีอูคูเลเล่ตัวต้นแบบที่ทำให้เราเห็น และเล่นกันอยู่จนถึงทุกวันนี้

        แต่หลังจากเก็บข้อมูลหลักฐาน มาเป็นระยะเวลานาน ในที่สุดนักมานุษวิทยา Helen Heffron Roberts(1885-1985) ก็ได้ตัดสินใจเผยแพ่รรายงานที่เขียนชื่อว่า Ancient Hawaiian Music หรือแปลเป็นไทยได้ว่า ตำนานเพลงพื้นบ้านของฮาวาย หลังจากการเก็บข้อมูล สิ่งพิมพ์เก่าๆ คำบอกเล่าจากชนเผ่าพื้นเมือง และศึกษาจากตำนานเพลงของฮาวาย อีกทั้งบทความชิ้นนี้ยังเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ของกีต้าร์โบราณ และอูคูเลเล่อีกด้วย

        ใครสนใจอ่านเพิ่มเติม สามารถไปหาอ่านบทความที่ชื่อว่า "The Ukulele" in Ancient Hawaiian Music ตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อปี 1926 และถูกตีพิมพ์จำนวนจำกัดเท่านั้น น่าเสียดายมากๆ

        และเชื่อว่าแต่เดิมอูคูเลเล่นั้นเป็นเครื่องดนตรี ที่ถูกพัฒนามาจาก เครื่องดนตรีทั้งหมดสองชนิดด้วยกัน นั่นคือ cavaquinho หรืออีกชื่อว่า braguinha และ rajão สำหรับคนที่อยากฟังเสียง และหน้าตาดูได้เลยตามนี้

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: เจค ชิมาบูคูโร่ – ชีวิตติดดิน

 http://www.bravomusic.co.th
เจค ชิมาบูคูโร่ คิดอยู่เสมอว่า การเล่นดนตรีคืองานอดิเรกของเค้า สำหรับผมแล้ว ดนตรีคือการเดินทางเจคกล่าว อัลบั้มล่าสุดของเจค (ณ ตอนที่เขียน) Dragon ตั้ง ชื่ออัลบั้มตามฉายา บรู๊ซ ลี นักแสดงชื่อดังที่เสียชีวิตไปแล้ว ขึ้นชาร์ตฮิตของญี่ปุ่น แต่เจคก็ยังคงปฏิเสธว่า เค้าไม่ใช่ดาราหรือคนดัง ตั้งแต่ชาวโปรตุเกสนำอูคูเลเล่เข้ามาสู่เกาะฮาวายในปี 1879 ซึ่งต่อมามันได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของวัฒนธรรมฮาวาย เจค ชิมาบูคูโร่ นักดนตรีวัย 29 ปี จาก ไคมูคิ ได้ปฎิวัติคิดค้น และยกระดับเครื่องดนตรีไม้สี่สาย ที่เรียกว่าอูคูเลเล่ ให้ก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
การเดินทางส่วนตัว
เป็นหรือไม่เป็น? นั่นคือคำถามที่เจคปฏิเสธว่า ผมไม่คิดว่าผมเป็นดาราเจคกล่าวว่า สำหรับ ผมแล้ว ดนตรีคือการเดินทางค้นหาตัวตน ผมพยายามที่จะพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ทั้งในฐานะนักดนตรี และในฐานะปุถุชนคนธรรมดา มันคือการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวตนของผมเอง และการเรียนรู้วัฒนธรรมที่แตกต่าง ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป แต่ท้ายที่สุดแล้วก็คือ ผมรักดนตรี
นักดนตรีที่รักความเพอเฟ็กซ์
ผมไม่ใช่คนที่เล่นเก่งตั้งแต่เกิด หรือเก่งโดยธรรมชาติเจคกล่าว พร้อมกับหัวเราะ จริง ๆ แล้ว ผมเป็นคนที่เรียนรู้ช้า เจคเคยไปเรียนอูคูเลเล่ กับ รอย ซาคูม่า ในขณะที่นักเรียนคนอื่น ๆ ฝึกฝนเพลงทั้งเพลง เจคจะพยายามที่จะเล่นเพลงแต่ละเพลง โดยฝึกทีละท่อนย่อย ใน ชั้นเรียน นักเรียนคนอื่นสามารถเล่นเพลงได้ทั้งเพลงตั้งแต่ต้นจนจบ แต่ผมสามารถเล่นได้แค่เพียงบางท่อน แต่เป็นท่อนที่ผมฝึกเล่นจนคิดว่ามันสมบูรณ์แบบสุด ๆ ผมเป็นคนที่รักความเพอร์เฟ็กซ์ นั่นก็เลยเป็นเหตุผลที่ว่าผมใช้เวลาเรียนค่อนข้างนานในแต่ละเพลง
24-7-365
           ตามคำกล่าวอ้างของเจค เจคมีอูคูเลเลอยู่ข้างกายตลาด 24 ชั่วโมงในหนึ่งวัน 7 วันในหนึ่งสัปดาห์ และ 365 วันในหนึ่งปี จะว่าไปแล้วก็คืออูคูเลเล่ ไม่เคยห่างกายผมเลยแม่ของเจคแนะนำให้เจครู้จักกับเครื่องดนตรีไม้สี่สายนี้ตั้งแต่เค้าอายุได้แค่ 4 ขวบ ใครเลยจะรู้ว่ามันจะกลายเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเค้า แม่ของเจคยังเป็นครูคนแรกของเค้าที่โรงเรียนอนุบาล อลาไว ผมโตขึ้นด้วยความเคยชินกับการฝึกฝนอูคูเลเล่อย่างน้อยวันละ 4 ชั่วโมง ผมจะฝึกซัก 2 -3 ชั่วโมง หลังจากกลับจากโรงเรียน แล้วก็อีก 1-2 ชั่วโมง หลังอาหารเย็นทุก วันนี้ตารางทำงานของเจคนั้นค่อนข้างแน่น แต่ก็ยังคงเหลือเวลาให้เค้า วันละ หนึ่ง ถึง ห้าชั่วโมง ที่จะฝึกฝนอูคูเลเล่ สิ่งหนึ่งที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงก็คือ อูคูเลเล่ไม่เคยห่างกายเค้าเลย
ออกเดินทางอีกแล้ว
เจคเคยหยุดพักหรือไม่? ในปี 2005 เจคออกทัวร์ถึง 8 เดือน ภายในปีนั้น (แต่ไม่ได้ออกทัวร์ติดต่อกันตลอด) ซึ่งนับจำนวนรัฐที่เค้าไปได้ถึง 30 รัฐทั่วอเมริกา ด้วยตารางทัวร์ที่อัดแน่นขนาดนั้น เจคเหลือเวลาว่างสำหรับตัวเองน้อยเต็มที ปีที่แล้วเป็นปีที่ผมยุ่งที่สุดที่เคยเจอมา ในหนึ่งสัปดาห์ คุณสามารถตื่นขึ้นมาในรัฐต่าง ๆ กันถึง 6 รัฐ และตื่นขึ้นมาในที่ต่าง ๆ กันอย่างนี้ไปตลอด บางครั้งผมตื่นขึ้นมา แล้วก็ไม่รู้ว่าตัวเองอยู่ที่ไหน เพราะผมมึนงงกับอาการเจ็ตแล็ก (เหนื่อยล้าจากการเดินทาง) โดยทั่วไปแล้วผมจะไปแต่ที่สนามบิน โรงแรม และก็ที่ที่ผมต้องแสดง มันเป็นอย่างนี้เมืองต่อเมือง และก็เป็นเหมือนกิจวัตรประจำที่ผมต้องทำอยู่ตลอด มันเป็นสิ่งที่ผมต้องต่อสู้ด้วยตลอดเวลา
ลดช่องว่าง
เจคขึ้นเวทีที่ญี่ปุ่นอย่างน้อยปีละ 5 ครั้ง และเขาก็ยอมรับว่าดนตรี และวัฒนธรรมญี่ปุ่น มีอิทธิพลสำคัญในดนตรีของเขาในช่วงสองปีให้หลัง ผม เรียนรู้อะไรมากมากยจากดนตรีญี่ปุ่น และมีนักแสดงหลายคนที่ผมชื่นชอบ การได้ไปที่ญี่ปุ่นทำให้ผมรู้สึกซาบซึ้งถึงวัฒนธรรมของเราเองมากยิ่งขึ้น และมันก็ทำให้ดนตรีของผมพัฒนาขึ้นด้วยการ ได้ฟังนักดนตรีกีตาร์ของญี่ปุ่นอย่างเช่น ชา และ ฮารูฮาตา เป็นเหมือนแรงบันดาลใจที่ทำให้เจคก้าวพ้นขีดจำกัด และต้องการทดลองสิ่งใหม่ ๆ
แฟนเพลงในญี่ปุ่น
http://www.bravomusic.co.th
คน ญี่ปุ่น รู้สึกชื่มชมวัฒนธรรมของฮาวาย ทุกคนที่ญี่ปุ่นช่างสุภาพ และน่าเคารพ ถ้าพวกเค้าไม่รู้จักคุณมาก่อน เค้าก็จะไม่กล้าปรบมือเสียงดังจนเกินไป โดยทั่วไปแล้ว แฟนเพลงญี่ปุ่นจะเป็นคนขี้อาย เมื่อเทียบกับแฟนเพลงอเมริกัน แฟนเพลงญี่ปุ่นจะร้องไห้ระหว่างที่ผมแสดง และเมื่อพวกเค้ามาขอลายเซ็นต์ ก็จะร้องไห้ และก็สั่นไปหมดแต่แฟนเพลง ชาวอเมริกันนั้นกลับตรงกันข้าม พวกเขาจะมีลักษณะเหมือนกับเจคที่อยู่ในการแสดง นั่นก็คือพวกเขาจะเต็มไปด้วยพลัง แต่สิ่งหนึ่งที่แฟนเพลงทั้งสองกลุ่มมีเหมือนกัน ก็คือความรักในดนตรีที่สุดแสนจะพิเศษของเจค และเมื่อเจคอยู่ที่ญี่ปุ่น เค้าสามารถทานอาหารโปรดของเค้าก็คือ ซูชิ นั่นเอง
ไสยศาสตร์ความเชื่อ
นักแสดงส่วนใหญ่มักจะมีความเชื่อทางไสยศาสตร์ นักกีฬา นักแสดง นักร้องหรือนักดนตรี มักจะมีการทำพิธีกรรมอะไรบางอย่างก่อนขึ้นแสดงบนเวที ผม ไม่ใช่คนประเภทที่งมงายเชื่อในไสยศาสตร์ ก่อนการแสดง ผมจะยืดนิ้วอยู่หลังเวที และก็วอร์มอัพด้วยการเล่นซักเพลง สองเพลง แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่ผมจะต้องทำเป็นกิจวัตรประจำสิ่ง หนึ่งที่มีอยู่เป็นอยู่ประจำตลอดการซ้อม และการแสดงของเจค ก็คือ อูคูเลเล่เทนเนอร์สี่สาย ที่ทำจากไม้โคอา และเป็นรุ่นสั่งทำพิเศษให้เข้ากับการเล่นที่รวดเร็วของเจค โดยบริษัทผลิตอูคูเลเล่ คามาค่าเจคสะสมอูคูเลเล่อยู่ไม่มากไม่มายโดยมีอยู่ทั้งหมด 5 ตัว อย่างไรก็ตามดูเหมือนว่าเค้าจะชอบเป็นพิเศษอยู่เพียงแค่ตัวเดียว สำหรับแฟนบางคน เจคอาจจะดูเหมือนเป็นคนที่ค่อนข้างเลือกมากเป็นพิเศษ เจคกล่าวว่า ผมชอบที่จะให้ทุกอย่างออกมาคงที่ ผมอยากให้เสียงในขณะที่ผมแสดง เป็นเสียงเดียวกับที่ผมใช้ในการซ้อม

โปรดติดตามตอนต่อไป
ที่มา: baanukulele.com.com
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ

ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด 
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th

ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700

โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251

เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699

แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694

อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th