วันจันทร์ที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: มาฝึก fingerstyle อูคูเลเล่ แบบ OLARN กันดีกว่า (ตอนที่ 2)

จาก ตอนที่แล้ว หลังจากที่เรารู้ตำแหน่งการวางนิ้วมาตรฐานอูคูเลเล่ ของแต่ละคอร์ดไปแล้ว ทว่า อันที่จริงผมต้องขออภัยเล็กน้อย เนื่องจากว่าคราวที่แล้ว ถ้าใครอ่านไปถึงตอนรูปทางนิ้วของ คอร์ด 7 ผมได้ให้รูป form ไว้ 3 แบบนะครับ อันที่จริงมันมีอีก form หนึ่งที่ผมลืมบอกไป ซึ่งก็คือ 
C7 form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูปของ 0001 (ตำแหน่ง 0 ให้คิดเหมือนเอานิ้วชี้ทาบไปในตำแหน่งที่ร่นออกไป 1 ช่อง)

อีกเรื่องคือ ขอแก้ไขตำแหน่งนิ้ว รูป G7 form ที่เดิมเขียนเป็น 3212 ให้แก้ใหม่ตามนี้ครับ

G7 form ให้จำตำแหน่งนิ้วในรูป 0212 (ตำแหน่ง 0 ให้คิดเหมือนเอานิ้วชี้กดบนตำแหน่งที่ร่นออกไป 1 ช่อง)

นอกจากเรื่องฟอร์มนิ้วแล้ว อีกประการหนึ่งที่ลืมเขียนไป ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่สุดอีกเช่นกันนั่นก็คือ เครื่องหมาย '#' (sharp) และ 'b' (flat) เครื่องหมายทั้งสองตัวนี้ เราจะเห็นอยู่บ่อยๆ ครับ จะเขียนตามหลังตัวโน้ต ยกตัวอย่างเช่น C# (ซีชาร์ป) Eb (อี แฟล็ต) ความหมายของมันก็คือ ถ้าเห็นเครื่องหมาย '#' ก็หมายถึงให้เล่นสูงขึ้นครึ่งเสียง หรือ 1 semi tone และเช่นกันถ้าเห็นเครื่องหมาย 'b' ก็หมายความว่า ให้เล่นต่ำลงครึ่งเสียงเช่นกัน คราวนี้คงจะสามารถอ่านโน้ตได้แล้วใช่หรือไม่ครับ

ทีนี้เมื่อเรารู้ form นิ้วทั้งหมดแล้วนั้น ผมอยากจะให้พวกเราทดลองฝึกกันให้มันคุ้นมือ สักหน่อยเสียก่อนครับ วิธีที่จะฝึกก็คือ ต้องลองทำแบบฝึกหัด หรือแบบทดสอบกันดู ซึ่งผมขอให้ลองฝึกดูสัก 3 แบบฝึกหัดนะครับ ซึ่งถ้าให้ดี อย่าเพิ่งดูเฉลยนะครับ ให้ลองหาด้วยตัวเองก่อน ด้วยการ กลับไปอ่านรูป form นิ้วของคอร์ดแต่ละแบบ trick ของมันก็คือ ให้เราจำว่าจากรูป form นึง ไปอีกรูปนึงนั้น มันจะต้องนับห่างออกไปกี่ช่อง ถ้าเราจำได้แบบนี้แล้ว ต่อไปมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติครับ 

วันนี้เขียนน้อย แต่รับรอง ฝึก
อูคูเลเล่นานแน่ๆ ลองดูครับ

Exercise 1. จงใช้รูป form chord major ที่ได้ทำความเข้าใจไป มาจับคอร์ดๆ เดียวกัน ให้ได้ทั่วคอ
อูคูเลเล่ (เอาถึงแค่ เฟร็ต 12 พอ)
คอร์ดที่ให้ฝึกได้แก่ G, D และ B

Exercise 2. จงใช้รูป form chord minor ที่ได้ทำความเข้าใจไป มาจับคอร์ดๆ เดียวกัน ให้ได้ทั่วคอ
อูคูเลเล่ (เอาถึงแค่ เฟร็ต 12 พอ)
คอร์ดที่ให้ฝึกได้แก่ Gm, Dmและ Bm

Exercise 3. จงใช้รูป form chord 7 ที่ได้ทำความเข้าใจไป มาจับคอร์ดๆ เดียวกัน ให้ได้ทั่วคอ
อูคูเลเล่ (เอาถึงแค่ เฟร็ต 12 พอ)
คอร์ดที่ให้ฝึกได้แก่ G7, D7 และ B7













เฉลย Exercise 1
G: 4232, 7775, 777[10], [12][11][10][10]
D: 2220, 2225, 7655, [11]9[10]9
B: 4322, 8676, [11][11][11]9, [11][11][11][14]

เฉลย Exercise 2
Gm: 3231, 7765, [12][10][10][10]
Dm: 2210, 7555, [10]9[10]8
Bm: 4222, 7675,[11][11][10]9

เฉลย Exercise 3
G7: 0212, 7575, 7778, [10][11][10][10]
D7: 2020, 2223, 5655, 7989
B7: 2322, 4656, [11]9[11]9, [11][11][11][12]

เป็นอย่างไรบ้างครับ หลังจากที่ได้ทดลองฝึกตามแบบฝึกหัดที่ให้ฝึกไว้ดู มีใครจับออกมาผิดเพี้ยนไปหรือตรงตามเฉลยหรือไม่ครับ ถ้าใครยังไม่คล่อง ก็ค่อยๆ ลองดูครับ กดได้แล้วก็ทดลองดีดดูว่า เสียงออกมาเป็นอย่างไร แต่ละตำแหน่งที่เล่นในคอร์ดเดียวกันนั้น มันเสียงเหมือนกันหรือไม่ 
ก็ขอจบตอนที่ 2 ไว้ให้เป็นแนวทางในการฝึกกันก่อนครับ มีเวลาว่าง เราอาจทดลองฝึกกับ คอร์ดอื่นๆ ดู อย่างเช่น C#m หรือ Bb7 อะไรพวกนี้ดูบ้าง ครับ เพื่อความเข้าใจที่มากยิ่งขึ้น ตอนหน้า เราจะกลับมาคุยกันเรื่องทฤษฎีกันอีกครั้งครับ ตอนนี้เริ่มเข้าใกล้ความจริงมากขึ้นแล้ว ซึ่งทฤษฎีที่จะคุยกันในตอนหน้า ผมจะอธิบายเกี่ยวกับเรื่องการสร้างคอร์ด และคู่ประสานครับ ซึ่งอันนี้จะเป็นหัวใจในการสร้างตัวโน้ตในการเล่นแบบ fingerstyle เลยทีเดียว ติดตามชมกันต่อไปครับ

ที่มา: baanukulele.com 
 
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่: มาฝึก Fingerstyle อูคูเลเล่ แบบ OLARN กันดีกว่า (ตอนที่1)

เผอิญว่า มีเพื่อนสมาชิกได้ส่ง pm มาสอบถามถึงวิธีฝึกฝนการเล่น อูคูเลเล่ แนว fingerstyle ให้ผมช่วยแนะนำให้หน่อยว่า มีวิธีฝึกฝนอย่างไร ผมตอบไปแล้วเห็นว่าน่าจะมีประโยชน์ กับเพื่อนสมาชิกท่านอื่น ที่อยากจะมาเล่นในแนวนี้ ก็เลยลองเอาแนวทางที่ผมใช้สอนลูกศิษย์ที่มาเรียนกับผมนะครับ มาเขียนอธิบายให้อ่านกัน ซึ่งแนวทางที่ผมเขียนไว้นี้ เป็นแค่วิธีที่ผมใช้นะครับ อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีที่สุด แต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่คนสนใจสามารถนำไปทดลองฝึกดูครับ หวังแต่ว่ามันจะทำให้เราสนุกสนานกับ อูคูเลเล่ กันได้มากขึ้น และชักชวน บอกต่อกันไปถึงความสนุกของมัน เพื่อสังคม อูคูเลเล่ ที่กว้างขวางขึ้นครับ 

เข้าเรื่องเลยครับ 



สำหรับการเล่นแนวนี้ เริ่มต้นจะต้องฝึกเรื่องการเล่นคอร์ดให้คล่องก่อนครับ 
บนสาย
อูคูเลเล่ ทั้ง 4 เส้น จะประกอบด้วยตัวโน้ต 4 ตัวคือ G C E A ทั้งสี่ตัวนี้สามารถนำมาผสมกันสร้างเป็นคอร์ดได้มากมายมหาศาล เคล็ดลับของมันก็คือ เราจะต้องจำตำแหน่ง (position) ของนิ้วให้ได้เสียก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การจับคอร์ดที่ลึกเข้าไปด้านในคอมากๆ วิธีจำง่ายๆ ให้เราจำรูปนิ้วมือ สามารถแยกรูปทางนิ้วออกมาเป็น 3 กลุ่มคอร์ดหลักๆ นะครับ คือ กลุ่มคอร์ด Major, minor และกลุ่มคอร์ด 7 (seven) เนื่องจากว่ามันเป็นคอร์ดที่พวกเราพบเยอะที่สุด เอาล๋ะ เดี๋ยวเรามาดูกันว่า แต่ละกลุ่มเรามีทางนิ้วแบบไหนกันบ้าง

กลุ่ม Major chords กลุ่มนี้ก็ได้แก่พวกคอร์ดที่เขียนเป็นตัวอักษรโดดๆ อย่างเช่น C G F D ฯลฯ พวกนี้ จะมีทางนิ้ว หรือตอนนี้ขอใช้คำว่า Form นะครับ อยู่ 4 แบบคือ
1. G form อันนี้ให้เราจำวิธีจับคอร์ด G เอาไว้ โดยที่ตำแหน่งของนิ้ว เรียงจากสาย 4 ไปสาย 1 จะเป็นรูป 4232
2. D form อันนี้ก็ให้เราจำวิธีจับคอร์ด D เอาไว้ โดยที่ตำแหน่งของนิ้ว จะเป็น 2220 (ตำแหน่ง 0 ก็คือไม่กด หรือให้คิดว่า นิ้วชี้กดที่สาย 1 ในตำแหน่งที่ร่นออกไป 2 ช่อง)
3. B form รูปนี้ให้จำวิธีจับคอร์ด B รูปนิ้วจะอยู่ในตำแหน่ง 3211
4. C form รูปนี้ให้จำวิธีจับคอร์ด C รูปนิ้วจะอยู่ในตำแหน่ง 0003 (ตำแหน่ง 0 ให้คิดเหมือนเอานิ้วชี้ทาบไปในตำแหน่งที่ร่นออกไป 2 ช่อง)

กลุ่ม minor chords กลุ่มนี้ได้แก่พวกคอร์ดที่เขียนในรูป Xm ยกตัวอย่างเช่น Dm Am Fm C#m เป็นต้น form การจับของกลุ่มนี้ก็จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ
1. Gm form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 3231
2. Dm form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 2210 (ตำแหน่ง 0 ก็คือไม่กด หรือให้คิดว่า นิ้วชี้กดที่สาย 1 ในตำแหน่งที่ร่นออกไป 2 ช่อง)
3. Bm form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 4222

กลุ่ม 7th chords กลุ่มนี้ก็ได้แก่พวกคอร์ดที่เขียนในรูป X7 ทั้งหลาย อย่างเช่น C7 G7 D7 เป็นต้น form การจับของคอร์ดกลุ่มนี้ ก็จะมีอยู่ 3 รูปแบบเช่นกัน คือ
1. G7 form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 3212
2. D7 form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 2020 (ตำแหน่ง 0 ให้คิดเหมือนเอานิ้วชี้ทาบไปในตำแหน่งที่ร่นออกไป 2 ช่อง)
3. B7 form ให้เราจำตำแหน่งนิ้ว ในรูป 2322

ตอนนี้เราก็ได้รูปทางนิ้วในคอร์ดหลักพื้นฐานมาทั้งหมดแล้วนะครับ ที่ผมสรุปให้ดูแบบนี้ก็เพื่อที่จะให้เราสามารถจับคอร์ดอะไร ในตำแหน่งใดๆ บนคอ
อูคูเลเล่ ได้อย่างไม่ติดขัด จะเห็นว่า ถ้าเราสามารถจำทางนิ้วได้ แค่ 10 รูปแบบแล้ว เราสามารถเล่นคอร์ดอะไรก็ได้ โดยที่ไม่ต้องเปิดตารางคอร์ดดูเลย ขอเพียงเรามีความเข้าใจเรื่องของ tone และ semi tone ซึ่งแปลให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือระยะห่างของเสียงตัวโน้ตแต่ละตัว มันเป็นยังไงล่ะ ถ้ายังไม่เหนื่อยก็ลองอ่านต่อดูครับ

ผมขอยกตัวอย่างโน้ตในคีย์ C Major ก่อนนะครับ (ตอนนั้นอ่านไปก่อนนะครับ อย่าเพิ่งตั้งคำถามว่าทำไมเป็น C Major เพราะเดี๋ยวช่วงหลังๆ ผมจะอธิบายให้ฟังต่อไปข้างหน้า) ที่ว่าเป็นคีย์ C ก็เพราะมันเป็นคีย์ที่ง่ายที่สุดแล้ว เพราะประกอบด้วยตัวโน้ตที่ซื่อตรง ไม่บิดเบี้ยวให้งงกัน นั่นก็คือ ประกอบด้วยโน้ต 7 ตัวนะครับคือ
C(โด), D(เร), E(มี), F(ฟา), G(ซอล), A(ลา), B(ที) แล้วก็ไปต่อกับ C ที่สูงขึ้นอีก octave นึง 

มาถึงตอนสนุกละ ในโน้ตทั้ง 7 ตัวนี่ มันจะมีระยะห่างระหว่างเสียง ที่พูดไปแล้วอย่างนี้ครับ
C ไป D ห่างกัน 1 เสียง = 2 semi tone ผมแปลง่ายๆ ในแบบวิธีปฏิบัติก็คือ ห่างกัน 2 fret บน fingerboard ครับ 
D ไป E ห่างกัน 1 เสียง หรือ ห่างกัน 2 fret บน fingerboard
E ไป F ห่างกัน 1/2 เสียง หรือ ห่างกัน 1 fret บน fingerboard
F ไป G ห่างกัน 1 เสียง หรือ ห่างกัน 2 fret บน fingerboard
G ไป A ห่างกัน 1 เสียง หรือ ห่างกัน 2 fret บน fingerboard
A ไป B ห่างกัน 1 เสียง หรือ ห่างกัน 2 fret บน fingerboard
B ไป C ห่างกัน 1/2 เสียง หรือ ห่างกัน 1 fret บน fingerboard

ทีนี้ให้เราทดลองเล่นสาย 3 บน
อูคูเลเล่ นะครับ ซึ่งสาย 3 เราตั้งสายเป็นเสียง C อยู่แล้ว ทีนี้เราลองกดไล่ลงมาเรื่อยๆ ตามลำดับตัวโน้ตที่เขียนให้ดูข้างต้นนะครับ เราก็จะเจอโน้ตตัวพัดไปไล่ตามๆ กัน ลองดูครับ พอไล่สาย 3 ได้แล้ว ลองขยับมาไล่เสียงบนสาย 2 บ้าง เริ่มตั้งแต่สายเปล่าคือเสียง E แล้วไล่ลงมาตามสูตรที่ให้ไป ต่อมาก็มาลองเล่นกับสายอื่นๆ ดูตามนั้น ไม่ยากใช่มั๊ยครับ 

พอเราเข้าใจเรื่องระยะห่างของโน้ตแต่ละเสียงแล้ว เราก็กลับมาดูรูปแบบการจับคอร์ดของเราบ้าง ยกตัวอย่างเช่น เราจับคอร์ดในรูป G form แล้วเราต้องการเล่นคอร์ด A เราทำไงครับ? ง่ายมากครับ เราแค่เลื่อนนิ้วเข้ามาด้านในคออีก 2 fret โดยรูปของการวางนิ้วเหมือนเดิม แต่คอร์ดที่เราจับก็เปลี่ยนเป็นคอร์ด A ไปเสียแล้ว อันนี้เป็นไอเดียในการเล่น transpose หรือเปลี่ยนเสียงนะครับ โดยให้เราจำสูตรของระยะห่างระหว่างเสียงที่ให้ไป แล้วก็ลองฝึกกับทางนิ้วรูปอื่นๆ ดู จนคล่องครับ พอคล่องแล้วเดี๋ยวเรามาคุยกันต่อในตอนหน้าครับ

ที่มา: baanukulele.com 
 
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: วิธีเช็คอูคูเลเล่เบื้องต้น

อูคูเลเล่ก็เหมือนกับสินค้าอื่น ๆ ทั่วไป มีหลายเกรด หลายคุณภาพ มีหลายระดับราคา เปรียบเทียบก็เหมือนนาฬิกาที่มีตั้งแต่ราคาถูก ๆ ขายกันตามข้างถนน ตลาดนัด เรือนละไม่กี่ร้อยบาท ไปจนถึงเรือนละเป็นหลาย ๆ ล้านบาท ที่คนขายอาจจะต้องสวมถุงมือก่อนที่จะหยิบนาฬิกาเรือนนั้นออกมาจากตู้โชว์ กระเป๋าก็มีตั้งแต่ใบละไม่กี่สิบบาท ไปจนถึงใบละเป็นล้าน ๆ บาท อูคูเลเล่ก็เช่นกัน
 
แน่นอนว่าคุณภาพก็ต้องตามราคา ผู้ซื้อเวลาซื้อก็ต้องมีวิจารณญาณ และอาจจะต้องหาข้อมูลก่อนการตัดสินใจ เริ่มจากง่าย ๆ ก่อนเลย

 
เช็คเบืองต้นด้วยตนเอง

ปัจจุบันนี้มีอินเตอร์เน็ต มีกูเกิ้ล (www.google.com) จึงเป็นเรื่องง่าย ๆ ที่ผู้ซื้อสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ลองพิมพ์คีย์เวิร์ดสำคัญ ๆ ของคำถามลงไปในกูเกิ้ล ก็สามารถเช็คได้ในระดับหนึ่ง หรือสอบถามจากเพื่อน หรือเว็บบอร์ด ก็จะมีผู้รู้ท่านอื่น ๆ มาช่วยตอบ และให้ข้อมูล

ยกตัวอย่างเช่น ถ้าได้ข้อมูลมาว่า สินค้าแบรนด์ ABC เป็นสินค้า Top 5 ที่จำหน่ายที่ Hawaii โด่งดังไปทั่วโลก ราคาถูกมหัศจรรย์ X,XXX บาทเท่านั้น ทำโดยนาย XYZ ช่างทำชื่อดังสุดยอด รีบซื้อเลย ช้าหมดอดนะจ๊ะ

ก็ลองพิมพ์ลงไปในกูเกิ้ลดูก่อน เช่นพิมพ์ว่า ABC, ukulele, Hawaii, price
, อูคูเลเล่ แล้วลองดูว่าข้อมูลที่กูเกิ้ลตอบกลับมาตรงกับที่ได้รับมาหรือเปล่า แบรนด์  ABC มีลิงค์โผล่ขึ้นมาบ้างหรือเปล่า มีจำนวนกี่ลิงค์ที่เกี่ยวข้อง (ดูจำนวนลิงค์อย่างเดียวไม่ได้นะบางครั้งต้องดูเนื้อหาด้วย) ราคาเท่าไหร่ มีข้อมูลอ้างอิงได้หรือไม่ว่าจำหน่ายที่ Hawaii มีวีดีโอเห็นฝรั่งผมทองเล่นมั้ย มีคนรู้จักเยอะจริงอย่างที่กล่าวอ้างหรือเปล่า ใครเป็นคนทำขึ้นมา เท่านี้ก็สามารถตรวจสอบในเบื้องต้นได้ว่าข้อมูลที่ได้รับมานั้นมีความถูก ต้อง น่าเชื่อถือมากน้อยแค่ไหน

วิธีนี้สามารถใช้กับสินค้าทุกชนิดที่ซื้อครับ ไม่จำกัดเพียงแต่อูคูเลเล่ จะเป็นกระเป๋า นาฬิกา กล้องถ่ายรูป หรืออะไรต่อมิอะไร เราเช็คเบื้องต้นก่อนเลย
ที่มา: baanukulele.com

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่: GString (จี-สะ-ตริง)


GString (จี-สะ-ตริง) เป็นชื่อของอูคูเลเล่ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ปัจจุบันค่อนข้างหายาก เนื่องจากเจ้าของ Derek Shimizu ได้ย้ายฐานการผลิตจากเกาะ Oahu ไปยังเกาะ Big Island และมีแนวโน้มว่าจะไม่ทำการผลิตต่อไป หรือรับเฉพาะงานคัสตอม ไฮเอนด์เท่านั้น

หลาย ๆ คนอาจจะสงสัยกับที่มาของชื่อบริษัท แท้จริงแล้วไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับชุดชั้นในแต่อย่างใด แต่ G-String คือสาย G หรือสายบนสุดของอูคูเลเล่ จึงเป็น top company ในการผลิตอูคูเลเล่

จุดเด่นของ GString คือเสียง และคุณภาพการผลิต Derek ได้นำเทคโนโลยี CNC และ Laser มาใช้ในการผลิตอูคูเลเล่ จึงทำให้อูคูเลเล่ของ GString มีความแน่นอน คุณภาพสม่ำเสมอ นอกจากนี้แล้ว งาน custom made ของ GString ก็ไม่ธรรมดา เพราะได้รับการยอมรับจากศิลปิน และถูกนำไปเล่นอยู่บนเวทีบ่อยครั้ง

ศิลปินที่สร้างชื่อเสียงให้กับ GString มากที่สุดคงหนีไม่พ้น James Hill พ่อมดของวงการอูคูเลเล่ ซึ่งนำ GString รุ่น James Hill’s model มาใช้ในการเล่นเพลง Billie Jean และยังใช้เล่นร่วมกับตะเกียบทำให้ได้เสียงแปลกใหม่ออกมาจากอูคูเลเล่ GString อย่างที่ไม่เคยมีใครคิดว่าจะทำได้

สำหรับผู้เล่นอูคูเลเล่ GString นั้นจัดอยู่ในระดับเดียวกับ Big K ได้อย่างสบาย หรืออาจจะเหนือกว่าด้วยซ้ำสำหรับรุ่นพิเศษหรือคัสตอม และสำหรับนักสะสม GString มีความเป็นมา และประวัติที่ยาวนานตั้งแต่ปี 1993 ที่ก่อตั้งบริษัทขึ้นมา และปัจจุบันมีอยู่ไม่มากมายนักในท้องตลาด จึงมีความน่าสะสมเป็นอย่างยิ่ง
ที่มา: Baanukulele.com
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ


ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด


เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th


ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

วันจันทร์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: Kamoa E3

Kamoa E3 (คามัว อี-ทรี) รุ่นนี้มีความน่าสนใจตรงที่เป็นอูคูเลเล่ที่มีสีสันสดใส แต่มาพร้อมกับคุณภาพเสียงแบบที่หลายๆคนตามหา
 
ปัจจุบันอูคูเลเล่สีๆทั้งหลายในท้องตลาด เท่าที่ตัวผู้เขียนเองได้ลองเล่นหรือลองจับดู ยังมีคุณภาพที่ไม่ได้มาตรฐานมากนัก เหมาะที่จะเป็นของเล่นมากกว่าเครื่องดนตรี แต่เจ้า Kamoa E3 ตอบโจทย์ให้กับนักอูคูเลเล่ได้อย่างลงตัว ไม่ว่าจะเป็นสีสันที่สดใส มีให้เลือกถึง 3 สีด้วยกัน คือ เหลือง แดง และน้ำตาล
Tenor Size
และวัสดุที่ใช้ทำ All Solid ที่ด้านหน้าทำจากไม้ Spruce ให้เสียงที่พุ่ง ใส กังวาล บวกกับตัวไม้ Alder ที่ใช้ในส่วนของด้านหลังและด้านข้าง  ซึ่งให้เสียงประสานที่ลงตัว ประกอบกับกรรมวิธีการทำสีที่ทาง Kamoa ใช้เทคนิคในการย้อมสี และเคลืบแบบ satin (เคลือบด้าน) ต่างจากยี่ห้ออื่นๆที่ใช้เคลือบหรือพ่นสี ที่ทำให้อูคูเลเล่มีเสียงที่ทึบ แต่เจ้า Kamoa E3 สีสันสดใสตัวนี้กลับมีเนื้อเสียงที่ชัดเจน  เสียงดัง กังวาล เหมาะกับการเล่นเพลงสนุกๆมันส์ๆ สร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้เล่นและผู้ฟังได้เป็นอย่างยิ่ง นอกจากจุดเด่นในเรื่องของกรรมวิธีการย้อมสี และการคัดเลือกไม้ชั้นดีที่มีอยู่ในเจ้า E3 ตัวนี้แล้ว ดีไซน์หน้าตาของอูคูเลเล่ตัวนี้ ยังทำออกมาได้สวยคลาสสิคทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นขอบ binding สีขาว ทั้งด้านหน้า ด้านหลัง และตรงขอบ sound hole
Sound hold : Kamoa E3 Tenor size (Red)

รุ่นนี้มีมาด้วยกันทั้งหมด 6 ไซส์ คือ Soprano Vintage, Soprano, Soprano Pineapple, Concert, Grand Concert และ Tenor โดยที่ Soprano ทั้ง 3 แบบ
Kamoa E3 All Size (Yellow)

จะมีทูนเนอร์เป็นแบบ friction tuner แบบเก่าสไตล์วินเทจ
Friction tuner : Kamoa E3 Soprano Vintage Size (Yellow)

และไซส์ใหญ่ขึ้นมาคือตัว Concert กับ Tenor จะเป็นแบบ gear tuner
Gear tuner : Kamoa E3 Grand Concert (Brown)

ตัวที่น่าสนใจใน E3 series ก็คือ Soprano Vintage กับ Grand Concert เนื่องจากเป็นรูปทรงที่ค่อนข้างหาได้ยาก โดยที่ Soprano Vintage จะมีขนาดค่อนข้างเล็กกว่า Soprano Size ทั่วๆไป เอวจะคอดกว่า และตัวจะบางกว่า แต่ให้เสียงที่ดัง ฟังชัด ไม่ต่างจาก soprano ธรรมดา
Kamoa E3 : Soprano Vintage Size

ในขณะที่ Grand Concert จะมีรูปร่างคล้ายระฆัง ( Bell Shape) ด้านล่างจะมีขนาดกว้างกว่าด้านบน และจำนวนเฟรทจะมากกว่า Concert Size ปกติทั่วอยู่ 2 เฟรท (Concert ธรรมดามี 12 เฟรท) ทำให้เล่นตัวโน๊ตได้มากขึ้น
Kamoa E3 : Grand Concert Size (Red), Concert Size (Yellow)

นอกจากนี้แล้ว ความพิเศษอีกอย่างของ E3 ก็คือสาย ที่ finished มาเป็นสาย Low-G ที่ให้เสียงต่ำ ทุ้ม เหมาะกับคนที่ชอบการเล่นแบบ finger style หรือการเล่นโน๊ตเป็นตัวๆมากกว่า strumming นอกจากนี้สาย Low-G ยังทำให้อูคูเลเล่ตัวนี้มีโน๊ตเพิ่มขึ้นมาอีกถึง 3 ตัวกันเลยทีเดียว ( ปกติสาย High-G จะมีโน๊ตตัวต่ำสุดคือ C แต่ถ้าสาย Low-G โน๊ตตัวต่ำสุดจะกลายเป็นโน๊ตตัว G
ที่มา baanukulele.com
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่: Ana’ole อูคูเลเล่


          Ana’ole (อะ-นา-โอ-เล) ในภาษาฮาวายแปลว่า ไม่เป็นที่สองรองใคร ไม่สามารถเทียบเคียงได้ ไม่สามารถวัดได้หรือเหนือกว่าได้ Ana’ole เป็นอูคูเลเล่อีกแบรนด์หนึ่งที่เน้นงาน custom ไฮเอนด์ ทำที่ฮาวายแท้ ๆ ทั้งตัว โดยลูเธียร์ Gareth “Bula” Yahiku อยู่ที่เมือง Pearl City ฮาวาย
 
           Gareth เริ่มมีความสนใจในการทำอูคูเลเล่ สมัยเรียน High School ที่โรงเรียน Kamehameha โดยลงเรียนวิชา Advance woodworking ที่สอนการทำอูคูเลเล่เทนเนอร์ โดยในเทอมนั้น Gareth สามารถทำ

           อูคูเลเล่ออกมาได้ถึง 3 ตัว และเป็นวิชาที่เค้าโปรดปรานมากที่สุด 
เมื่อ เรียนจบ Gareth ได้ทำงานร่วมกับ GString ซึ่งเป็นผู้ผลิตอูคูเลเล่แนวหน้าของฮาวายที่นำโดย Derek Shimizu โดยเริ่มต้นจากการทำชื้นส่วนต่าง ๆ และพัฒนาขึ้นมาเป็น technician ทำ semi-custom และขึ้นมาเป็นมือหนึ่งในการทำ custom ในที่สุด ทำงานร่วมกับ GString อยู่นานหลายปี Gareth จึงได้แยกตัวออกมาทำแบรนด์ของตัวเองในชื่อ Ana’ole และ สร้างจนแบรนด์มีชื่อเสียง และเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง
 
           อูคูเลเล่ Ana’ole นอกจากจะมีเสียงที่ก้องกังวานแล้ว ยังมีรูปลักษณ์ที่งดงาม โดยเฉพาะตัว custom หลาย ๆ ตัวที่ Gareth ทำ บ่งบอกถึงความคิดสร้างสรรค์ และการขวนขวายวิชาที่ไม่หยุดยั้งของลูเธียร์ผู้สร้าง ไม่ว่าจะเป็น sound hole ที่เป็นรูปเกาะฮาวาย การนำทรายมาใช้ในการทำ inlay การนำไม้ชนิดต่าง ๆ มาใช้ และความหลากหลายของการออกแบบอูคูเลเล่ที่ตอบสนองความต้องการของผู้เล่น
ในปีหนึ่ง ๆ Gareth จะทำอูคูเลเล่ออกมาเพียง 10-12 ตัวเท่านั้น ความละเอียดอ่อนในการทำงานจึงเป็นไม่ที่สองรองใคร สมกับชื่อ Ana’ole
ขอบคุณข้อมูลจาก baanukulele.com
สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
 
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

อูคูเลเล่: Melokia Ukulele

 
Melokia Ukulele เหมาะสำหรับผู้ที่ฝึกเล่นอูคูเลเล่ หรือนักอูคูเลเล่มือใหม่เป็นอย่างมาก เนื่องจากมีราคาเริ่มต้นที่ย่อมเยาว์ และที่สำคัญ อูคูเลเล่ยี่ห้อนี้ทุกรุ่นเป็นไม้แท้ทุกตัว ซึ่งมีให้เลือกด้วยกันอยู่ 2 ไม้คือ ไม้มะฮอกกานี (Mahogany) และไม้อะคาเซีย (Acacia)  ซึ่ง ไม้ทั้งสองชนิดนี้ มีความแตกต่างอย่างกันในเรื่องของลวดลายของแผ่นไม้ โทนสีของเนื้อไม้ และโทนเสียง ไม้มะฮอกกานี จะให้โทนเสียงที่อุ่น กังวาล ทำให้ได้เสียงสั่นค้างนาน ในขณะที่เสียงของไม้อะคาเซียจะออกใสๆ พุ่ง ออกแนวร่าเริงๆ และเนื้อไม้มีลายขวางดูสวยงาม เป็นเอกลักษณ์ 

Melokia Mahogany Tenor Ukulele 
และในปี 2012 นี้ ทาง Melokia ได้มีการออกแบบดีไซน์โลโก้ใหม่ ทำให้ภาพลักษณ์ของอูคูเลเล่ยี่ห้อนี้ ดูทันสมัยและปราดเปรียวมากยิ่งขึ้น  เมื่อนำ Melokia รุ่นใหม่และรุ่นเก่ามาเปรียบเทียบแล้ว จะเห็นสิ่งที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนเลยคือ

ส่วนแรก หัวและโลโก้ ดีไซน์ใหม่หัวจะใหญ่ดูทันสมัยขึ้นมากกว่าดีไซน์เก่าที่หัวจะเล็ก นอกจากนี้ตัวโลโก้ของแบรนด์ หรือตรงยี่ห้อคำว่า melokia  ของรุ่นใหม่จะใช้เลเซอร์ยิง ในขณะที่รุ่นเก่าจะเป็นสติ๊กเกอร์ 

Melokia New Design 2012
ส่วนที่ 2 ที่ต่างกันคือ Nut & Saddle  โดยที่นัทหน้ากับนัทหลังของรุ่นเก่าจะเป็นไม้ Rosewood ส่วนรุ่นใหม่จะทำจาก bone (กระดูก) ซึ่ง Nut & Saddle ที่ทำจากกระดูกจะให้เสียงที่ใสกว่า นอกจากนี้  Melokia New Design ยังได้มีการปรับตกแต่ง action หรือ touching ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น เล่นได้สบายมือ จับคอร์ดได้ถนัดและง่ายมากขึ้น 
ส่วนที่ 3 คือสายที่ติดมาพร้อมกับตัวอูคูเลเล่ ในรุ่นเก่าจะใส่สายของยี่ห้อ GHS ซึ่งเป็นสาย nylon แต่รุ่นใหม่นี้จะเปลี่ยนเป็นสายของ Aquila ที่เป็น Nylgut และนอกจากนี้ Melokia New Design จะมีไซส์ Tenor Cut-away ด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่ชอบเล่น picking หรือเล่นคอร์ดใน ช่วยเพิ่มความสามารถในการเล่นได้มากยิ่งขึ้น 

Melokia Old Design   
ส่วนสเป็คไม้ของรุ่นใหม่ก็ยังเหมือนเดิมทุกอย่าง มีทั้ง Mahogany และ Acacia เหมือนเดิม ครบทุกรุ่นไม่ว่าจะเป็น Soprano, Pineapple, Concert, Concert Cut-away, Tenor และ Tenor Cut-away ค่ะ
ราคาสำหรับรุ่นใหม่นี้ก็ยังน่าเย้ายวนใจเหมือนเดิม เพราะถึงแม้จะมีอะไรๆที่เปลี่ยนแปลงและมีการพัฒนามากขึ้นกว่าเดิม แต่ราคาของเจ้า Melokia New Design 2012 ยังคงยืนหยัดเท่าเดิมเหมือนกับรุ่นเก่า
ไม้มะฮอกกานีเริ่มต้นที่ 4,100 : 5,000 : 5,700 : 6,100 และ 7,000 ตามขนาดไซส์ (Soprano (Pineapple), Concert, Concert Cut-away, Tenor, Tenor Cut-away)
 ที่มา baanukulele

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ

ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th

ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th

อูคูเลเล่: Kanile’a Ukulele

Kanile’a (คา-นิ-เลีย-อะ) เป็นภาษาฮาวาย แปลว่า เสียงที่เต็มไปด้วยความสุข และก็เป็นอีกหนึ่งอูคูเลเล่แบรนด์ที่เราคนไทยรู้จักกันดีครับ ก่อตั้งโดยสองสามีภรรยา Joe และ Kristen Souza ที่เริ่มทำอูคูเลเล่จากในห้องรับแขกของตัวเองตั้งแต่ปี 1997 และก็ได้ก่อตั้งโรงงาน Kanile’a ขึ้นมาในปี 1998 และสร้างชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลก
Joe และ Kristen Souza
Kanile’a เป็นอูคูเลเล่ที่เน้นผลิตจากไม้โคอา และทำที่ฮาวาย จัดอยู่ในระดับไฮเอนด์ ที่เดือน ๆ หนึ่งผลิตออกมาไม่มากไม่มาย จึงเป็นที่ต้องการของผู้เล่น และนักสะสมทั่วโลก จุดเด่นของ Kanile’a คือ ลายไม้ที่สวยงาม เสียงที่เป็นเอกลักษณ์จาก bracing ที่เป็นลักษณะเฉพาะและจดลิขสิทธิ์ที่เรียกว่า TRU Bracing นอกจากนี้ในรุ่นที่เป็น gloss finish ยังเป็น UV finish ที่เงางาม และมีความแข็งแรง คงทน

 

Kanile’a มีอูคูเลเล่ให้เลือกมากมายหลายรุ่น หลากหลายแบบ และยังมีส่วนที่เป็น custom ที่ผู้เล่นสามารถกำหนดสเป็คของอูคูเลเล่ที่ต้องการได้ รุ่นที่ได้รับความนิยมในส่วนของ production ก็จะมี K1, K2, K3 ไล่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ และมีการประดับด้วย binding, inlay rosette ที่เพิ่มความสวยงาม และอัพเกรดไม้เป็น curly koa 

 

สำหรับนักสะสมที่ชื่นชอบไม้สวย ๆ เสียงดี หนึ่งใน Big K ห้ามพลาดกับ Kanile’a
ที่มา baanukulele

สนใจ อูคูเลเล่, โวโอลิน, ตู้แอมป์ และเครื่องดนตรีอื่นๆ
ติดต่อได้ที่ บริษัท บราโวมิวสิค จำกัด
เว็บไซต์ : http://www.bravomusic.co.th
ที่อยู่ : 1093/4 ถนนอรุณอมรินทร์ ศิริราช บางกอกน้อย, กรุงเทพ 10700
โทรศัพท์ : (66) 02- 866-1152, (66) 028663251
เบอร์มือถือ: (66) 082-824-6699
แฟ๊กซ์. : (66) 02- 866-0694
อีเมล์ : bravo@bravomusic.co.th